เรื่องย่อ
รายละเอียด : ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ก่อนมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ ผลของการกระทำละเมิดเป็นไปตามหลักทั่วไปตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๒ ลักษณะ ๕ หมวด ๑ ความรับผิดเพื่อละมิดแม้ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าละเมิดต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงานของรัฐ เช่นลักษณะการกระทำละเมิดย่อมเป็นไปตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติว่า"ผู้ใดกระทำการใด โดยจงใจ หรือประมาพเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายแก่ถึงชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น" คำนำ : ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พระรหบัญญัติความรับผิดทางระเมิดของจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๘ ใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ระหว่างเจ้าหน้าที่กับหน่วยงานของรัฐและบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่โดยยกเว้นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๒ ลักษณะ ๕ ละเมิดโดยมีเหตุผลในการประกาศใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งแม้พระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีบทบัญญัติเพียง ๑๕ มาตราแต่มีรายละเอียดในประเด็นข้อกฎหมายหลายประการ ผู้เขียนได้แยกเป็นหัวข้อให้เข้าใจง่าย โดยรวบรวมแนวดำพิพากษาศาลปกครอง คำพิพากษาศาลฎีกา ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา และคำวินิวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาสประกอบในแต่ละหัวข้อหวังว่าจะป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ศึกษาบ้างตามสมควร ทั้งนี้อาจมีข้อผิดพลาดบกพร่องไม่ถูกต้อง ซึ่งหากท่านใดพบเห็นขอความกรุณาแจ้งให้ผู้เขียนทราบเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องจะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนายชาตรี ศรีวิเศษ